Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ข้อมูลทั่วไป
 
ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • ลักษณะความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพ ในอดีตพอจะแยกได้ดังนี้ :
    1. การทำนา ทำสวน และหาปลาจากคลองอู่ตะเภามาเป็นอาหาร ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในละแวกบ้าน ท่าหลา บ้านหัวควาย บ้านโอ บ้านโคกเสน บ้านโคกคาเหนือ บ้านดอน บ้านอู่ตะเภา บ้านหลวงนา บ้านจีน บ้านคูเต่า

    2. การทำประมงในทะเลสาบสงขลา และการทำนา ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในละแวกบ้านควนเหนือ บ้านควนใต้ บ้านคดหม้อ บ้านทอนโหมลง บ้านเกาะนก บ้านปากบาง บ้านปลายแหลม และบ้านบางโหนดนอก

    3. การทำนา และหาปลาน้ำจืดในทุ่งนำมาเป็นอาหาร ได้แก่ บ้านบางโหนดใน จากสภาพที่กล่าวถึง เป็นวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีต เริ่มตั้งแต่ เริ่มตั้งถิ่นฐานซึ่งมีมา ยาวนาน ไม่สามารถประมาณได้ และมีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพอจะกล่าวเป็นเรื่องๆ ได้ดังนี้
  • คำขวัญประจำตำบล
    "ดินงาม น้ำดี วจีจริง สองสิ่งล้ำค่า การศึกษา วัฒนธรรม
    กุ้งกุลาดำนำเศรษฐกิจ แหล่งผลิตสินค้าพื้นเมือง"


    ประวัติชุมชนตำบลคูเต่า

    ชุมชนตำบลคูเต่ามีประวัติความเป็นมา ดังนี้ คนเฒ่า คนแก่ เล่าว่าแต่เดิมการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในชุมชนตำบลคูเต่าได้ยึดเอาแนวคลองอู่ตะเภาตลอดแนวเป็นที่ ตั้งบ้านเรือนเพราะริมคลองมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่คู่กับคลองอู่ตะเภา เป็นต้นว่า สัตว์น้ำ พืชน้ำที่ใช้ประกอบอาหารและคลองอู่ตะเภา ยังเป็นเส้นทางคมนาคม ติดต่อกับชุมชนอื่นๆ นอกจากนั้นผู้คนยังอาศัยน้ำจากคลองอู่ตะเภาในการอุปโภคและบริโภค เพราะสมัยก่อนน้ำยังสะอาด ชุมชนเล็กๆ ที่อาศัยรวมตัวกันอยู่ละแวกบ้านต่างๆ ตลอดแนวคลอง และละแวกบ้านที่ห่างจากคลองแต่มีการตั้งบ้านเรือนโดยยึดเอาเรื่องการทำมาหากินเป็นหลักในการตั้งบ้านเรือน ได้แก่ ละแวกบ้านต่างๆ ดังนี้ บ้านท่าหลา บ้านหัวควาย บ้านโอ บ้านโคกเสน บ้านโคกคาเหนือ บ้านดอน บ้านอู่ตะเภา บ้านหลวงนา บ้านหนองบัว บ้านหัวสะพานปูน บ้านคู บ้านหัวสะพาน บ้านจีน บ้านคูเต่า บ้านควนเหนือ บ้านควนใต้ บ้านคดหม้อ บ้านทอนโหมลง บ้านเกาะนก บ้านปากบาง บ้านปลายแหลม บ้านหัวทุ่ง บ้านบางใหญ่ บ้านบางโหนดใน และบ้านบางโหนดนอก ซึ่งละแวกบ้านที่กล่าวถึงนี้ ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนแถบริมคลองอู่ตะเภาเกือบทั้งหมด มีเพียงบางละแวกบ้านเท่านั้นที่ตั้งบ้านเรือนห่างจากคลองแต่ในวิถีชีวิตก็ยังมีส่วนสัมพันธ์กับคลองอู่ตะเภาทั้งสิ้น

    ชุมชนตำบลคูเต่า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มตอนปลายของคลองอู่ตะเภาและส่วนหนึ่งติดชายฝั่งทะเลสาบสงขลา มีที่ราบลุ่มผืนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาในอดีต และมีพื้นที่ทำสวนอยู่เล็กน้อยจากสภาพการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ดังกล่าวจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำการเกษตร ทำนา ทำสวน และการประมงหาปลา แต่ในอดีตผู้คนจะทำมาหากิน เพื่อการเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่ เช่น เลี้ยงวัวไว้ไถนา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้กินเศษอาหารในครัวเรือน ทำนาเก็บข้าวไว้กิน ปลูกพืชผักไว้กินในครัวเรือน แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีผลผลิตที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในครัวเรือน หาปลาแลกข้าว เลี้ยงหมูไว้แบ่งปันกันกิน เป็นต้น ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนจะอยู่แบบเรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยกันสูงมาก ฐานะของคนในชุมชน จึงเป็นลักษณะพออยู่พอกิน
  • วิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลคูเต่า
    "คูเต่าเมืองน่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี ประเพณีศิลปวัฒนธรรมเด่น
    เน้นการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม"
    พันธกิจเทศบาลตำบลคูเต่า
      1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้มีคุณภาพและครอบคลุมทั่วถึงทั้งตำบล
    2. พัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาความรู้และการศึกษาทุกระดับ
    3. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี
    5. สงเคราะห์และดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
    6. พัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากชุมชน
    7. อนุรักษ์ สืบทอดและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
    8. พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
    9. ส่งเสริมการบริหารจัดการท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
    10. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    จุดมุงหมายเพื่อการพัฒนาตำบลคูเต่า
      1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีคุณภาพครอบคลุมทั่วถึงทั้งตำบล
    2. ประชาชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทั้งทางด้านการประกอบอาชีพและด้านอื่นๆ
    3. เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ
    4. มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวได้รับการดูแล
    5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ มีสุขภาพดี มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความปลอดภัย
    6. ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับการสงเคราะห์ ดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
    7. ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด
    8. ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากชุมชนได้รับการกำจัดย่างถูกวิธี
    9. มีระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ
    10. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่น
    11. ผู้บริหาร สมาชิกสภาเทบาลและพนักงานเทศบาลได้รับการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
    12. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู